ความหมายของ IP Address
หมายเลข IP Address คือ?IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องที่ต้องกำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและ อุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายเน็ตเวิร์ค โดยมีข้อแม้ว่าหมายเลข IP Address ที่จะกำหนดให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ต่างๆ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งเมื่อกำหนดหมายเลข IP Address ได้อย่างถูกต้องจะช่วยให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆในเครือข่าย รู้จักกันรวมถึงสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้อย่างถูกต้อง โดย IP Address จะเป็นตัวอ้างอิงชื่อที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ตัวอย่างเช่น หากคอมพิวเตอร์ A ต้องการส่งไฟล์ข้อมูลไปให้คอมพิวเตอร์ B คอมพิวเตอร์ A จะต้องรู้จักหรือมองเห็นคอมพิวเตอร์ B เสียก่อน โดยการอ้างอิงหมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ B ให้ถูกต้อง จากนั้นจึงอาศัยโปรโตคอลเป็นตัวรับส่งข้อมูลระหว่างทั้ง 2 เครื่อง
IP Address จะประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน 4 ชุด ระหว่างตัวเลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด "." เช่น 192.168.0.1 โดยคอมพิวเตอร์จะแปลงค่าตัวเลขทั้ง 4 ชุดให้กลายเป็นเลขฐาน 2 ก่อนจะนำค่าที่แปลงได้ไปเก็บลงเครื่องทุกครั้ง และนอกจากนี้หมายเลข IP Address ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครือข่าย (Network Address)
2.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครื่อง (Host Address)
ซึ่ง หมายเลขทั้ง 2 ส่วนนี้สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ 5 Class ด้วยกันได้แก่ Class A, B, C, D และ E สำหรับ Class D และ E ทางหน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center: หน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งจากรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกมาตรฐานและจัดสรรหมายเลข IP Address ให้กับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั่วโลก) ได้มีการประกาศห้ามใช้งาน
Class A หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อภายในเครือ ข่ายจำนวนมากๆ
Class B หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดกลาง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้มากถึง 65,534 เครื่อง
Class C หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดเล็กและใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในเครือ ข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ 254 เครื่อง
Class D หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 สำหรับหมายเลข IP Address ของ Class นี้มีไว้เพื่อใช้ในเครือข่ายแบบ Multicast เท่านั้น
Class E หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.255 สำหรับหมายเลข IP Address ของ Class นี้จะเก็บสำรองไว้ใช้ในอนาคต ปัจจุบันจึงยังไม่ได้มีการนำมาใช้งาน
Public IP และ Private IP แตกต่างกัน?
บน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเราจะได้รับการจัดสรร IP Address จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP: Internet Service Providers) ที่ใช้อยู่ ซึ่งเป็น IP Address ของจริงหรือที่เรียกว่า "Public IP" แต่สำหรับการต่อเครือข่ายเพื่อใช้งานภายในบ้านหรือออฟฟิศต่างๆ เราจะใช้ IP Address ของปลอม หรือที่เรียกว่า "Private IP" ซึ่ง Class ที่นิยมใช้กันก็คือ Class C ที่อยู่ในช่วง 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.0 โดยผู้ใช้หรือผู้ดูแลระบบจะสามารถเป็นผู้กำหนดหมายเลข IP Address แบบ Private IP ด้วยตนเองได้
IP Address เป็นหมายเลขที่ไว้กำหนดให้กับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ เช่น Router, Switch เป็นต้น ทำให้สามารถส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดย IP ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็น IP V.4 มีขนาดจำนวน 4 bytes แบ่งออกเป็นตัวเลข 4 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วย . ซึ่งแต่ละชุดมีตัวเลขตั้งแต่ 0 - 255 ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็น IP V6 ซึ่งสามารถระบุจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ได้มากกว่า
IP v4 แบ่งออกได้เป็น 5 class ดังนี้
IP v4 แบ่งออกได้เป็น 5 class ดังนี้
Class A สามารถสังเกตุได้จากตัวเลขชุดแรกอยู่ระหว่าง 0 - 127
Class B สามารถสังเกตุได้จากตัวเลขชุดแรกอยู่ระหว่าง 128 - 191
Class C สามารถสังเกตุได้จากตัวเลขชุดแรกอยู่ระหว่าง 192 - 223
Class D สามารถสังเกตุได้จากตัวเลขชุดแรกอยู่ระหว่าง 224 - 239
Class E สามารถสังเกตุได้จากตัวเลขชุดแรกอยู่ระหว่าง 240 - 255ซึ่ง Class A สามารถมีจำนวน Client ได้มากที่สุด รองลงมาตามลำดับ และในปัจจุบันมีใช้อยู่ 3 Class คือ A, B และ C ส่วน D สำหรับการ Boardcast และ E สำหรับ Reserves
192.168.0.0 ใช้สำหรับเป็น Network Address ของ Private IP Class C
192.168.0.255 จะเป็น Broadcast Address
10.0.0.0 ใช้สำหรับเป็น Network Address ของ Private IP Class A
127.0.0.1 ใช้อ้างถึงเครื่องตัวเอง หรือ loopback
192.168.0.255 จะเป็น Broadcast Address
10.0.0.0 ใช้สำหรับเป็น Network Address ของ Private IP Class A
127.0.0.1 ใช้อ้างถึงเครื่องตัวเอง หรือ loopback
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น