ความหมายของสื่อส่งข้อมูล
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากสายสัญญาณเป็นสื่อนำข้อมูลแล้วสื่อไร้สายก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้เชื่อต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย เช่น WLAN (Wireless LAN) เป็นเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้อากาศเป็น
สื่อนำสัญญาณ
สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)
ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็แบ่งออกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของเครือข่ายที่ใช้ สายโคแอ็กซ์จะถูกแยกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยใช้มาตรา RG (Radio Grade Scale) เช่น สายโคแอ็กซ์แบบ RG-58 จะใช้ได้กับเครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบ 10Base2 ซึ่งมีค่าความต้านทานที่ 50 โอห์ม
สายโคแอ็กเชียล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สายโคแอ็กเชียล แบบบาง (Thin Coaxial Cable)
2. สายโคแอ็กเชียล แบบหนา (Thick Coaxial Cable)
1. สายโคแอ็กเชียล แบบบาง (Thin Coaxial Cable)
2. สายโคแอ็กเชียล แบบหนา (Thick Coaxial Cable)
สายโคแอ็กเชียลแบบบาง
สายโคแอ็กเชียลแบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnest Cable) เป็นสายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลังลงบริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ในสายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
สายโคแอ็กเชียลแบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnest Cable) เป็นสายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลังลงบริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ในสายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
สายโคแอ็กซ์ยังแบ่งออกเป็น 2 เกรดแล้วแต่การใช้งาน
1. สายโคแอ็กเชียลเกรด PVC สายประเภทนี้จะใช้พลาสติกเป็นวัสดุห่อหุ้ม เป็นสายชนิดที่ใช้ในสำนักงาน เพราะเป็นสายที่มีความยืดหยุ่นมาก แต่เมื่อติดไฟจะทำให้เกิดแก๊สที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
2. สายโคแอ็กเชียลเกรด Plenum เป็นสายที่ใช้ติดตั้งเพดาน หรือระหว่างชั้น หรือพื้นที่มีอุณหภูมิต่างจากอุณหภูมิห้อง เพราะเป็นสายที่ทนไฟ และถ้าไฟไหม้สาย แก๊สที่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นอันตรายมากนัก
2. สายโคแอ็กเชียลเกรด Plenum เป็นสายที่ใช้ติดตั้งเพดาน หรือระหว่างชั้น หรือพื้นที่มีอุณหภูมิต่างจากอุณหภูมิห้อง เพราะเป็นสายที่ทนไฟ และถ้าไฟไหม้สาย แก๊สที่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นอันตรายมากนัก
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
ข้อดี
· ราคาถูก
· มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
· ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
· ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
· ระยะทางจำกัด
สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
หัวเชื่อมต่อ
สายคู่ตีกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11 ซึ่งเป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และอีกอย่างหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเลียว 4 คู่ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปจะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว
สายสัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมี 2 ประเภท โดยแบ่งตามชนิดของตัวนำที่ใช้ประเภทแรกคือ แบบที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ (Conductive Metal) เช่น สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) และสายโคแอ็กซ์ (Coaxial Cable) ซึ่งปัญหาของสายที่มีตัวนำเป็นโลหะนั้นก็คือ สัญญาณที่วิ่งอยู่ภายในสายนั้น อาจจะถูกรบกวนได้โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแหล่งต่าง ๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ผลิตสนามแม่เหล็ก หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า เป็นต้น และการเดินสายเป็นระยะทางไกลมาก ๆ เช่น ระหว่างประเทศจะมีการสูญเสียของสัญญาณเกิดขึ้น จึงต้องใช้อุปกรณ์สำหรับทวนสัญญาณติดเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงมีการคิดค้นและพัฒนาสายสัญญาณแบบใหม่ ซึ่งใช้ตัวนำซึ่งไม่ได้เป็นโลหะขึ้นมาก็คือ สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ซึ่งใช้สัญญาณแสงในการส่งสัญญาณไฟฟ้า ทำให้การส่งสัญญาณไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งยังคงทนต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย และตัวกลางที่ใช้สำหรับการส่งสัญญาณแสงก็คือ ใยแก้วซึ่งมีขนาดเล็กและบางทำให้ประหยัดพื้นที่ไปได้มาก สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยมีการสูญเสียของสัญญาณน้อย ทั้งยังให้อัตราข้อมูล (Bandwidth) ที่สูงยิ่งกว่าสายแบบโลหะหลายเท่าตัว
โครงสร้างของใยแก้วนำแสง
ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ ส่วนที่เป็นแกน (Core) ซึ่งจะอยู่ตรงกลางหรือชั้นในแล้วหุ้มด้วยส่วนห่อหุ้ม (Cladding) แล้วถูกห่อหุ้มด้วยส่วนป้องกัน (Coating) อีกชั้นหนึ่งโดยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะต้องคำนึงถึงหลักการหักเหและสะท้อนกลับหมดของแสง ส่วนที่เหลือก็จะเป็นส่วนที่ช่วยในการติดตั้งสายสัญญาณได้ง่ายขึ้น เช่น Strengthening Fiber ก็เป็นส่วนที่ป้องกันไม่ให้สายไฟเบอร์ขาดเมื่อมีการดึงสายในตอนติดตั้งสายสัญญาณ
รูปสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
· แกน (Core) เป็นส่วนกลางของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วนนำแสง โดยดัชนีหักเหของแสงส่วนนี้ต้องมากกว่าส่วนของแคลด ลำแสงที่ผ่านไปในแกนจะถูกขังหรือเคลื่อนที่ไปตามแกนของเส้นใยแก้วนำแสงด้วยกระบวนการสะท้อนกลับหมดภายใน
· ส่วนห่อหุ้ม (Cladding) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนของแกนเอาไว้ โดยส่วนนี้จะมีดัชนีหักเหน้อยกว่าส่วนของแกน เพื่อให้แสงที่เดินทางภายใน สะท้อนอยู่ภายในแกนตามกฎของการสะท้อนด้วยการสะท้อนกลับหมด โดยใช้หักของมุมวิกฤติ
· ส่วนป้องกัน (Coating/Buffer) เป็นชั้นที่ต่อจากแคลดที่กันแสงจากภายนอกเข้าเส้นใยแก้วนำแสงและยังใช้ประโยชน์เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสง โครงสร้างอาจจะประกอบไปด้วยชั้นของพลาสติกหลาย ๆ ชั้น นอกจากนั้นส่วนป้องกันยังทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันจากแรงกระทำภายนอกอีกด้วย ตัวอย่างของค่าดัชนีหักเห เช่น แกนมีค่าดัชนีหักเหประมาณ 1.48 ส่วนขอแคลดและส่วนป้องกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแสงจากแกนไปภายนอกและป้องกันแสงภายนอกรบกวน จะมีค่าดัชนีหักเหเป็น 1.46 และ 1.52 ตามลำดับ
ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
ระบบวิทยุ
ในปัจจุบันมีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อส่งข้อมูลแบบไร้สายในการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ระบบวิทยุ (Radio Systems) เหมาะเป็นสื่อสำหรับเครือข่ายขนาดต่างๆ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ระบบนี้ในการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง เช่น ในระดับเมือง เป็นต้น
คลื่นวิทยุ (Radio Waves) มักจะถูกเลือกใช้เป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่าย
สังเกตได้ว่าตึกสูงจำนวนมากมักจะติดเสาในการรับ-ส่งคลื่นวิทยุด้านบนสุดของตึก
· เชื่อมต่อได้สะดวก ข้อดีข้อหนึ่งของเครือข่ายที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปแบบระบบวิทยุก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อได้สะดวก โดยเฉพาะการออกไปนอกพื้นที่สำนักงาน เพียงแต่มีคอมพิวเตอร์พกพาสักเครื่องพร้อมกับอุปกรณ์รับส่งวิทยุก็สามารถเชื่อมต่อได้แทบทุกจุด
· สัญญาณรบกวน ระบบวิทยุส่งสัญญาณบนคลื่นความถี่วิทยุ โดยปกติแล้วระบบวิทยุสามารถที่จะตรวจสอบความถี่ก่อนว่าไม่มีปัญหาแล้วค่อยเริ่มส่งข้อมูลออกไป ด้วยเหตุนี้ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณรบกวนจากที่อื่นก็ยังสามารถทำงานได้
· แบนด์วิตธ์ ระบบวิทยุส่งข้อมูลได้น้อยกว่าสื่อที่ใช้สายประเภทอื่นๆ โดยปกติแล้วระบบวิทยุสามารถส่งข้อมูลได้เร็วเพียง 2 Mbps เท่านั้น
· การติดตั้ง การติดตั้งและเซตอัประบบวิทยุไม่มีอะไรยุ่งยากนัก เพียงแต่ติดตั้งอุปกรณ์รับและส่งคลื่นวิทยุเข้ากับคอมพิวเตอร์พร้อมกับเซตอัปเพียงเล็กน้อยก็สามารถที่จะทำงานได้ทันที ระบบวิทยุนี้ไม่เหมือนกับสื่อระบบอื่น เพราะไม่ต้องใช้สายเคเบิลหรือคอนเน็กเตอร์ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน
· ค่าใช้จ่าย ระบบวิทยุนี้นับว่ามีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสื่อที่ใช้สายประเภทอื่นๆ อีกทั้งการใช้ระบบคลื่นวิทยุนี้ในหลายประเทศจะต้องขออนุญาตในการใช้คลื่นวิทยุเสียก่อน
ข้อดีและข้อเสียของระบบไมโครเวฟ
ข้อดี
ในการเลือกสื่อนำข้อมูลเพื่อใช้ในระบบสื่อสาร ควรคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อนำข้อมูลดังต่อไปนี้
1. ราคา
2. ความเร็ว
3. ระยะทาง
4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
5. ความปลอดภัยของข้อมูล
1. ราคา
2. ความเร็ว
3. ระยะทาง
4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
5. ความปลอดภัยของข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น