วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ใบงานที่ 2 อุปกรณ์เครือข่ายและสื่อนำสัญญาณ

ความหมายของสื่อส่งข้อมูล
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากสายสัญญาณเป็นสื่อนำข้อมูลแล้วสื่อไร้สายก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้เชื่อต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย เช่น WLAN (Wireless LAN)      เป็นเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้อากาศเป็น
สื่อนำสัญญาณ 
ประเภทของสื่อส่งข้อมูล
สื่อนำสัญญาณที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้
สื่อสายสัญญาณ
·       สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)
·       สายคู่เกลียวบิต (Twisted Pairs)
·       สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics)
สื่อไร้สาย (Wireless)
·       ระบบแสงอินฟาเรด
·       ระบบคลื่นวิทยุ
·       ระบบคลื่นไมโครเวฟ

สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mileส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดินในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้





         ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็แบ่งออกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของเครือข่ายที่ใช้ สายโคแอ็กซ์จะถูกแยกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยใช้มาตรา RG (Radio Grade Scale) เช่น สายโคแอ็กซ์แบบ RG-58 จะใช้ได้กับเครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบ 10Base2 ซึ่งมีค่าความต้านทานที่ 50 โอห์ม
สายโคแอ็กเชียล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
       1. สายโคแอ็กเชียล แบบบาง (Thin Coaxial Cable)
       2. สายโคแอ็กเชียล แบบหนา (Thick Coaxial Cable)
สายโคแอ็กเชียลแบบบาง
        สายโคแอ็กเชียลแบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnest Cable) เป็นสายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลังลงบริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ในสายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น


สายโคแอ็กซ์ยังแบ่งออกเป็น 2  เกรดแล้วแต่การใช้งาน
        1. สายโคแอ็กเชียลเกรด PVC สายประเภทนี้จะใช้พลาสติกเป็นวัสดุห่อหุ้ม   เป็นสายชนิดที่ใช้ในสำนักงาน  เพราะเป็นสายที่มีความยืดหยุ่นมาก  แต่เมื่อติดไฟจะทำให้เกิดแก๊สที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
        2. สายโคแอ็กเชียลเกรด Plenum เป็นสายที่ใช้ติดตั้งเพดาน หรือระหว่างชั้น หรือพื้นที่มีอุณหภูมิต่างจากอุณหภูมิห้อง เพราะเป็นสายที่ทนไฟ และถ้าไฟไหม้สาย แก๊สที่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นอันตรายมากนัก
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
·       ราคาถูก
·       มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
·       ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
·       ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
·       ระยะทางจำกัด



 
สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่ตีเกลียว  (Twisted-Pair Cable)  เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด   ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม   2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.             สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP)   เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง



1.             สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP



หัวเชื่อมต่อ
สายคู่ตีกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11 ซึ่งเป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และอีกอย่างหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเลียวคู่ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปจะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45      



ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว
 ข้อดี
·       ราคาถูก
·       มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
·       ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
·       ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
·       ระยะทางจำกัด


สายใยแก้วนำแสง
สายสัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมี 2 ประเภท โดยแบ่งตามชนิดของตัวนำที่ใช้ประเภทแรกคือ แบบที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ (Conductive Metal) เช่น สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) และสายโคแอ็กซ์ (Coaxial Cable) ซึ่งปัญหาของสายที่มีตัวนำเป็นโลหะนั้นก็คือ สัญญาณที่วิ่งอยู่ภายในสายนั้น อาจจะถูกรบกวนได้โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแหล่งต่าง ๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ผลิตสนามแม่เหล็ก หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า เป็นต้น และการเดินสายเป็นระยะทางไกลมาก ๆ เช่น ระหว่างประเทศจะมีการสูญเสียของสัญญาณเกิดขึ้น จึงต้องใช้อุปกรณ์สำหรับทวนสัญญาณติดเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงมีการคิดค้นและพัฒนาสายสัญญาณแบบใหม่ ซึ่งใช้ตัวนำซึ่งไม่ได้เป็นโลหะขึ้นมาก็คือ สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ซึ่งใช้สัญญาณแสงในการส่งสัญญาณไฟฟ้า ทำให้การส่งสัญญาณไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งยังคงทนต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย และตัวกลางที่ใช้สำหรับการส่งสัญญาณแสงก็คือ ใยแก้วซึ่งมีขนาดเล็กและบางทำให้ประหยัดพื้นที่ไปได้มาก สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยมีการสูญเสียของสัญญาณน้อย ทั้งยังให้อัตราข้อมูล (Bandwidth) ที่สูงยิ่งกว่าสายแบบโลหะหลายเท่าตัว


โครงสร้างของใยแก้วนำแสง
ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ ส่วนที่เป็นแกน (Core) ซึ่งจะอยู่ตรงกลางหรือชั้นในแล้วหุ้มด้วยส่วนห่อหุ้ม (Cladding) แล้วถูกห่อหุ้มด้วยส่วนป้องกัน (Coating) อีกชั้นหนึ่งโดยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะต้องคำนึงถึงหลักการหักเหและสะท้อนกลับหมดของแสง ส่วนที่เหลือก็จะเป็นส่วนที่ช่วยในการติดตั้งสายสัญญาณได้ง่ายขึ้น เช่น Strengthening Fiber ก็เป็นส่วนที่ป้องกันไม่ให้สายไฟเบอร์ขาดเมื่อมีการดึงสายในตอนติดตั้งสายสัญญาณ



รูปสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
·       แกน (Core)  เป็นส่วนกลางของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วนนำแสง โดยดัชนีหักเหของแสงส่วนนี้ต้องมากกว่าส่วนของแคลด ลำแสงที่ผ่านไปในแกนจะถูกขังหรือเคลื่อนที่ไปตามแกนของเส้นใยแก้วนำแสงด้วยกระบวนการสะท้อนกลับหมดภายใน
·       ส่วนห่อหุ้ม (Claddingเป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนของแกนเอาไว้ โดยส่วนนี้จะมีดัชนีหักเหน้อยกว่าส่วนของแกน เพื่อให้แสงที่เดินทางภายใน สะท้อนอยู่ภายในแกนตามกฎของการสะท้อนด้วยการสะท้อนกลับหมด โดยใช้หักของมุมวิกฤติ  
·       ส่วนป้องกัน (Coating/Buffer) เป็นชั้นที่ต่อจากแคลดที่กันแสงจากภายนอกเข้าเส้นใยแก้วนำแสงและยังใช้ประโยชน์เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสง โครงสร้างอาจจะประกอบไปด้วยชั้นของพลาสติกหลาย ๆ ชั้น นอกจากนั้นส่วนป้องกันยังทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันจากแรงกระทำภายนอกอีกด้วย ตัวอย่างของค่าดัชนีหักเห เช่น แกนมีค่าดัชนีหักเหประมาณ 1.48 ส่วนขอแคลดและส่วนป้องกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแสงจากแกนไปภายนอกและป้องกันแสงภายนอกรบกวน จะมีค่าดัชนีหักเหเป็น 1.46 และ 1.52 ตามลำดับ



ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี

·       ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
·       ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
·       ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
·       มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
·       ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
·       มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล

สื่อไร้สาย (Wireless)
นอกการใช้สายสัญญาณเป็นสื่อกลางนำสัญญาณแล้ว อากาศก็เป็นสื่อนำสัญญาณได้เช่นกันซึ่งระบบที่ใช้อากาศเป็นสื่อนำสัญญาณจะเรียกว่าเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) ก่อนที่จะศึกษารายละเอียดของระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับแถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Spectrum) ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณส่งข้อมูลในทุก ๆ การสื่อสารที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสาย UTP สายโคแอ็ซ์ สายไฟเบอร์ หรือแม้กระทั่งการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ ก็ยังใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งสิ้น ข้อแตกต่างระหว่างข้างต้นคือ สื่อกลางที่ใช้ ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเทคนิคในการส่งสัญญารไปบนสื่อต่าง ๆ เหล่านั้น
ระบบแสงอินฟราเรด

ระบบแสงอินฟราเรด (Infrared Systems) จะใช้แสงอินฟราเรดในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่าย ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็ใช้กันมากในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์รีโมตคอนโทรล เช่น โทรทัศน์ และเครื่องเล่นวิทยุ เป็นต้น

·       การติดตั้ง การติดตั้งและเซตอัประบบแสงอินฟราเรดเป็นเครือข่ายทำได้ไม่ยากนัก เพียงแต่นำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ต่อเข้ากับตัวรับ-ส่งสัญญาณอินฟราเรด สำหรับตัวรีซีฟเวอร์ (Receiver) หลักจะติดอยู่บนเพดานตรงกลาง ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
·       สัญญาณรบกวน ปัญหาหลักของระบบนี้ก็คือ เกิดสัญญาณรบกวนได้ง่าย แบะสัญญาณรบกวนนั้นก็เกิดจากระบบของมันเอง เช่น ตั้งตำแหน่งของอุปกรณ์ไม่เหมาะสม ก็จะเกิดการสะท้อนสัญญาณไปรบกวนสัญญาณหลักได้ สังเกตว่าระบบนี้ไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก
·       สัญญาณอ่อน สัญญาณอินฟราเรดไม่เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล เพราะจะมีปัญหาสัญญาณถูกลดทอน อีกทั้งยังต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศอีกด้วย ในกรณีที่เป็นการส่งข้อมูลภายนอกอาคาร วิธีแก้ไขปัญหานี้ก็มักจะใช้การเพิ่มกำลังส่งให้สูงขึ้นตามระยะทางที่ส่ง
·       แบนด์วิตธ์ ระบบแสงอินฟราเรดมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 4 Mbps ถึงแม้ว่าระบบนี้มีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะและมีความเร็วต่ำ แต่ก็ยังมีการใช้ระบบนี้ในเครือข่ายที่ไม่เน้นการส่งข้อมูลปริมาณมาก
·       ค่าใช้จ่าย ระบบแสงอินฟราเรดมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควรเมื่อเทียบกับระบบสายเคเบิลประเภทอื่นๆ ยิ่งใช้ระบบนี้ส่งข้อมูลในระยะทางไกลก็จะยิ่งแพงเพราะจะต้องใช้อุปกรณ์ที่มีกำลังส่งสูง


ระบบวิทยุ
ในปัจจุบันมีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อส่งข้อมูลแบบไร้สายในการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ระบบวิทยุ (Radio Systems) เหมาะเป็นสื่อสำหรับเครือข่ายขนาดต่างๆ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ระบบนี้ในการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง เช่น ในระดับเมือง เป็นต้น




คลื่นวิทยุ  (Radio Waves) มักจะถูกเลือกใช้เป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่าย
สังเกตได้ว่าตึกสูงจำนวนมากมักจะติดเสาในการรับ-ส่งคลื่นวิทยุด้านบนสุดของตึก
·       เชื่อมต่อได้สะดวก  ข้อดีข้อหนึ่งของเครือข่ายที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปแบบระบบวิทยุก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อได้สะดวก โดยเฉพาะการออกไปนอกพื้นที่สำนักงาน เพียงแต่มีคอมพิวเตอร์พกพาสักเครื่องพร้อมกับอุปกรณ์รับส่งวิทยุก็สามารถเชื่อมต่อได้แทบทุกจุด
·       สัญญาณรบกวน  ระบบวิทยุส่งสัญญาณบนคลื่นความถี่วิทยุ โดยปกติแล้วระบบวิทยุสามารถที่จะตรวจสอบความถี่ก่อนว่าไม่มีปัญหาแล้วค่อยเริ่มส่งข้อมูลออกไป ด้วยเหตุนี้ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณรบกวนจากที่อื่นก็ยังสามารถทำงานได้
·        แบนด์วิตธ์  ระบบวิทยุส่งข้อมูลได้น้อยกว่าสื่อที่ใช้สายประเภทอื่นๆ โดยปกติแล้วระบบวิทยุสามารถส่งข้อมูลได้เร็วเพียง 2 Mbps เท่านั้น
·       การติดตั้ง การติดตั้งและเซตอัประบบวิทยุไม่มีอะไรยุ่งยากนัก เพียงแต่ติดตั้งอุปกรณ์รับและส่งคลื่นวิทยุเข้ากับคอมพิวเตอร์พร้อมกับเซตอัปเพียงเล็กน้อยก็สามารถที่จะทำงานได้ทันที ระบบวิทยุนี้ไม่เหมือนกับสื่อระบบอื่น เพราะไม่ต้องใช้สายเคเบิลหรือคอนเน็กเตอร์ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน
·       ค่าใช้จ่าย ระบบวิทยุนี้นับว่ามีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสื่อที่ใช้สายประเภทอื่นๆ อีกทั้งการใช้ระบบคลื่นวิทยุนี้ในหลายประเทศจะต้องขออนุญาตในการใช้คลื่นวิทยุเสียก่อน

ระบบไมโครเวฟ (Microwave System)
      ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) กลไกของการสื่อสารและรับสัญญาณของไมโครเวฟใช้จานสะท้อนรูปพาลาโบลา เป็นระบบที่ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง และสัญญาณของไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่สูงๆ สถานีหนึ่งๆ จะ ครอบคลุมพื้นที่ที่รับสัญญาณได้ 30-50 กม. ความเร็วในการส่งข้อมูล 200-300 Mbps ระยะทาง 20-30 mile และยังขึ้นอยู่กับความสูงของเสาสัญญาณด้วย



ข้อดีและข้อเสียของระบบไมโครเวฟ
ข้อดี

·       ใช้ในพื้นที่ซึ่งการเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก
·       ราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
·       ติดตั้งง่ายกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
·       อัตราการส่งข้อมูลสูง
ข้อเสีย
·       สัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากธรรมชาติ เช่น พายุ หรือฟ้าผ่า


ระบบดาวเทียม (Satellite System)







ระบบดาวเทียม (Satellite System) ใช้หลักการคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในส่วนของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ โดยอาศัยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ขั้นตอนในการส่งสัญญาณมี ทั้งหมด 3 ขั้นตอนคือ
·       สถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียม เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-Link)
·       ดาวเทียมจะตรวจสอบตำแหน่งสถานีปลายทาง หากอยู่นอกเหนือขอบเขตสัญญาณจะส่งต่อไปยัง
·       ดาวเทียมที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้นหากยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมจะทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีปลายทาง เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-Link) อัตราเร็วในการส่ง 1-2 Mbps



ข้อดีและข้อเสียของระบบดาวเทียม
ข้อดี
·       ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดของโลกได้
·         ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่งข้อมูลของระบบดาวเทียมไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ห่างกันของสถานีพื้นดิน

ข้อเสีย
·       มีเวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ


หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
        ในการเลือกสื่อนำข้อมูลเพื่อใช้ในระบบสื่อสาร ควรคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อนำข้อมูลดังต่อไปนี้
                1. ราคา
                2. ความเร็ว
                3. ระยะทาง
                4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
                5. ความปลอดภัยของข้อมูล



























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น